การส่งออกสินค้าทางเรือเป็นวิธีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำและสามารถขนส่งสินค้าได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการส่งออกสินค้าทางเรือก็มีความซับซ้อนและมีกฎระเบียบต่าง ๆ มากมายที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาขั้นตอนอย่างรอบคอบก่อนทำการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ในบทความนี้ เราได้รวบรวมขั้นตอนการส่งออกสินค้าทางเรือที่ผู้ประกอบการควรรู้มาไว้ให้แล้ว แต่จะมีเรื่องใดบ้างติดตามกันได้เลย
รู้จักประเภทการขนส่งทางเรือ
ประเภทการขนส่งทางเรือสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้
1. การขนส่งทางเรือแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ FCL (Full Container Load)
เป็นรูปแบบการขนส่ง ที่สินค้าทั้งหมดจะถูกบรรจุไว้ในตู้คอนเทนเนอร์เพียงตู้เดียว โดยตู้คอนเทนเนอร์จะมีขนาดมาตรฐานตั้งแต่ 20 ฟุต ถึง 40 ฟุต หรือมากกว่านั้น เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการส่งของเป็นจำนวนมาก รวมถึงเป็นสินค้าที่มีขนาดใหญ่ หรือสินค้าที่ต้องรักษาสภาพเป็นพิเศษ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
ข้อดีและข้อจำกัดของการขนส่งทางเรือแบบ FCL
ข้อดี
สินค้าได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและปลอดภัย
สามารถขนส่งสินค้าได้หลากหลายประเภท
เมื่อเคลียร์สินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถขนส่งโดยลากตู้ออกไปได้เลย โดยไม่ต้องรอกำหนดเวลาเปิดตู้
ข้อจำกัด
อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง ไม่คุ้มค่า หากสินค้ามีปริมาณน้อยเกินไป
2. การขนส่งทางเรือแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ LCL (Less than Container Load)
เป็นรูปแบบการขนส่งสินค้าทางเรือที่สินค้าจะถูกบรรจุลงในตู้คอนเทนเนอร์ร่วมกับสินค้าของผู้ส่งออกรายอื่น ๆ แตกต่างจากการขนส่งแบบ FCL ที่สินค้าทั้งตู้เป็นของลูกค้ารายเดียว เป็นรูปแบบการส่งที่เหมาะกับสินค้าที่มีปริมาณไม่มาก หรือสินค้าที่ไม่ต้องการการบรรจุหีบห่อเป็นพิเศษ เช่น สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร เป็นต้น
ข้อดีและข้อจำกัดของการขนส่งทางเรือแบบ LCL
ข้อดี
มีต้นทุนต่ำ
เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาณน้อย
ข้อจำกัด
สินค้าอาจได้รับการดูแลไม่ทั่วถึงหรือเกิดความเสียหายได้
ไม่สามารถขนส่งสินค้าได้หลากหลายประเภท
เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่ต้องการขนส่งด้วยระยะเวลาที่แน่นอน
3. การขนส่งสินค้าทางเรือแบบเทกอง (Bulk Cargo)
เป็นรูปแบบการขนส่งสินค้าทางเรือที่สินค้าจะถูกเทกองลงบนเรือโดยตรง หรือนำไปบรรจุรวมกันไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ หรือมัดรวมเป็นหีบห่อ โดยประเภทสินค้าที่สามารถขนส่งด้วยวิธีนี้ได้ก็คือ สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ถ่านหิน เหล็ก ข้าว น้ำมัน เป็นต้น
ข้อดีและข้อจำกัดของการขนส่งทางเรือแบบ Bulk Cargo
ข้อดี
มีต้นทุนต่ำ
สามารถขนส่งสินค้าได้เป็นจำนวนมาก
เหมาะสำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก
ข้อจำกัด
สินค้าอาจได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง
มีข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าบางประเภท เช่น สินค้าอันตราย สินค้าเน่าเสีย เป็นต้น
ขั้นตอนการส่งออกสินค้าทางเรือ
1. การเตรียมเอกสารส่งออกทางเรือ
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการส่งออกสินค้าทางเรือ ได้แก่
ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration)
ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก (Import-Export Permit)
ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading)
บัญชีราคาสินค้า (Commercial Invoice)
บัญชีบรรจุหีบห่อ (Packing List)
เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบกำกับภาษี ใบส่งของ เป็นต้น
ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการเตรียมเอกสารส่งออกทางเรือด้วยตนเอง หรือว่าจ้างบริษัทตัวแทนผู้ให้บริการขนส่งสินค้า (Freight Forwarder) เป็นผู้ดำเนินการแทนได้
2. ติดต่อกับผู้ให้บริการในการจองเรือ
การติดต่อประสานงานกับสายเรือ เป็นขั้นตอนการส่งออกสินค้าทางเรือที่มีความสำคัญขั้นตอนหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่บนเรือนั้นมีจำกัด โดยเฉพาะสินค้าที่มีขนาดใหญ่ หรือสินค้าที่ต้องส่งแบบเร่งด่วน โดยผู้ส่งจะต้องติดต่อกับบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือเพื่อจองเรือ พร้อมต้องแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ประเภทสินค้า น้ำหนักสินค้า ปริมาณสินค้า สถานที่ขนถ่ายสินค้า ประเทศปลายทาง ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ (20 ฟุต, 40 ฟุต) เป็นต้น
3. เอกสารยืนยันการจองเรือจากผู้ให้บริการขนส่งสินค้า
เมื่อติดต่อและได้จัดส่งเอกสารไปยังบริษัทขนส่งเพื่อจองเรือเรียบร้อยแล้ว จากนั้นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือจะออกเอกสารการจอง Booking Confirmation เพื่อเป็นการยืนยันพื้นที่สำหรับวางสินค้าของเราบนเรือ โดย Booking Confirmation จะแสดงข้อมูลดังนี้
ชื่อผู้ส่งออก
ชื่อผู้รับสินค้า/ผู้ซื้อสินค้า
ชื่อเรือ
จำนวนและขนาดตู้คอนเทนเนอร์
วันที่เรือออกจากท่าต้นทาง/วันที่เรือถึงท่าปลายทาง
จุดปล่อยสินค้าขาออกและจุดปล่อยสินค้าขาเข้า
วันที่ลากตู้
วันรับคืนตู้วันสุดท้าย
ชื่อสายเดินเรือ
4. พิธีการศุลกากรขาออก
อีกหนึ่งขั้นตอนการส่งออกสินค้าทางเรือที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ส่งออก นั่นก็คือการดำเนินพิธีการศุลกากรขาออก เพื่อให้ได้รับเอกสารอนุญาตในการขนส่งสินค้าออกนอกประเทศได้
5. การขนถ่ายสินค้าไปยังท่าเรือ
เมื่อผ่านขั้นตอนพิธีการศุลกากรขาออกแล้ว สินค้าทั้งหมดจะถูกขนส่งไปยังท่าเรือ โดยอาจจะต้องใช้รถหัวลากเพื่อนำสินค้าลงบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ และจะถูกขนถ่ายจากตู้ไปยังท่าเรือต้นทางต่อไป
7. เรือส่งสินค้าออกจากท่าเรือ
เรือที่บรรทุกสินค้าจะออกจากท่าเรือของประเทศไทย เพื่อมุ่งหน้าไปยังประเทศปลายทาง
สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดส่งสินค้าทางเรือไปต่างประเทศ และต้องการลดความยุ่งยากกับขั้นตอนในการจัดส่ง เลือก Ezy Express เรามาพร้อมกับบริการส่งสินค้าไปต่างประเทศแบบครบวงจร มีบริการ Shipping ทางเรือ และบริการเดินพิธีการศุลกากรขาออก การันตีได้ถึงคุณภาพด้านการจัดส่งในระดับมาตรฐาน พร้อมทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเอกสารที่สามารถให้คำแนะนำเรื่องการส่งของไปต่างประเทศได้อย่างครอบคลุม ช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและคุ้มค่าในการจัดส่ง สามารถเช็กราคาค่าส่งเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือหากต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามผ่านสายด่วน Ezy Express ได้ที่เบอร์ 061-398-3300 หรือ LINE Official @ezyexpress
Comments