top of page

6 ขั้นตอนส่งของกลับไทย พร้อมตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีนำเข้า

Updated: Dec 9, 2024

ในการใช้ชีวิต เราอาจต้องเจอกับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องส่งของกลับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นของฝากจากต่างแดน สินค้าที่สั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ หรือแม้แต่ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวสำหรับคนที่อาศัย อยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน นักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบและกำลังเตรียมตัวย้ายกลับไทย ดังนั้น การทำความเข้าใจขั้นตอนและวิธีส่งของกลับไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้การจัดส่งสิ่งของเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย


เจ้าหน้าที่บริษัทนำเข้าและส่งของกลับไทยกำลังแปะป้ายลงบนกล่องเพื่อระบุที่อยู่ผู้รับพัสดุ

รู้จักสิ่งของที่ห้ามนำเข้ามาในประเทศไทย


สิ่งสำคัญที่สุดก่อนส่งของกลับไทย คือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามที่ไม่สามารถนำเข้ามาในประเทศได้ เพราะอาจนำไปสู่การได้รับบทลงโทษทางกฎหมาย โดยสิ่งของต้องห้ามมีดังนี้


  1. ยาเสพติด

กฎหมายไทยห้ามนำเข้ายาเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด โดยผู้ที่ฝ่าฝืนจะได้รับโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ซึ่งมีบทลงโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต


  1. สื่อลามก

ตามพระราชบัญญัติศุลกากรและประมวลกฎหมายอาญา ได้ห้ามการนำเข้าสื่อลามกอนาจารทั้งหมด รวมถึงวัตถุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องด้วย


  1. สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ 

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าปลอมทุกประเภท ซึ่งรวมถึงสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วย


  1. ธนบัตรหรือเหรียญปลอม

ตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการปลอมเงินตรา ไม่อนุญาตให้นำเข้าธนบัตรหรือเหรียญปลอม รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตด้วย


  1. สัตว์สงวนหรือสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองในบัญชี CITES

ตามกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าและอนุสัญญา CITES ได้ห้ามนำเข้าสัตว์สงวน สัตว์คุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์เหล่านี้ทั้งหมด


6 ขั้นตอนส่งของกลับไทย


หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามแล้ว สำหรับคนไทยในต่างแดน การส่งของกลับประเทศไทยมีขั้นตอนสำคัญที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจสอบประเภทสินค้าไปจนถึงการรับสินค้า ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


  1. ตรวจสอบข้อกำหนดของสินค้า

การส่งของกลับไทยเริ่มต้นจากการตรวจสอบว่า สิ่งของที่จะส่งสามารถนำเข้าได้อย่างถูกกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากสินค้าบางประเภทอาจเป็นสินค้าต้องห้ามหรือต้องได้รับการควบคุม โดยเฉพาะสินค้าประเภทยา อาหาร และเครื่องสำอาง ที่ต้องได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เสียก่อน นอกจากนี้ ยังควรประเมินมูลค่าสินค้าเบื้องต้น เพราะหากมีมูลค่าเกิน 1,500 บาท จะต้องเสียภาษีนำเข้า


  1. เลือกวิธีการขนส่ง

การเลือกวิธีขนส่งขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด และความเร่งด่วนของสิ่งของ สำหรับพัสดุทั่วไป สามารถใช้บริการขนส่งระหว่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นของจำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่ มีตัวเลือกหลักที่แนะนำ ดังนี้


  • การส่งทางเรือ : เหมาะสำหรับของจำนวนมากหรือมีน้ำหนักมาก เนื่องจากมีค่าขนส่งที่ถูกกว่าแบบอื่น ๆ แม้จะใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ทั้งยังสามารถเลือกขนาดตู้คอนเทนเนอร์ให้เหมาะกับปริมาณของได้

  • การส่งทางอากาศ : เหมาะกับของที่ต้องการความรวดเร็วหรือมีมูลค่าสูง เพราะใช้เวลาเพียง 3-7 วัน ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า แต่ก็แลกมาด้วยความรวดเร็วและความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ต้องระวังเรื่องข้อจำกัดด้านน้ำหนักและขนาดด้วย 


ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือควรตรวจสอบว่าบริษัทขนส่งมีบริการดำเนินการทางศุลกากรให้ด้วยหรือไม่ เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวกในขั้นตอนต่อไป


  1. เตรียมเอกสารสำหรับศุลกากร

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้ามีความสำคัญอย่างมาก โดยต้องจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ได้แก่ ใบกำกับสินค้าที่ระบุรายละเอียดและมูลค่า รายการบรรจุสินค้าที่แสดงจำนวนและน้ำหนัก ใบอนุญาตนำเข้าสำหรับสินค้าควบคุม และหลักฐานการชำระเงินทั้งหมด โดยการเตรียมเอกสารที่ถูกต้องและครบถ้วนจะช่วยให้กระบวนการศุลกากรเป็นไปอย่างราบรื่น


  1. ดำเนินการตามขั้นตอนของศุลกากร

เมื่อสินค้ามาถึงด่านศุลกากร จะเริ่มกระบวนการตรวจสอบเอกสารและสินค้า โดยอาจดำเนินการผ่านบริษัทขนส่งหรือตัวแทนออกของ จากนั้นศุลกากรจะประเมินภาษี และอาจมีการเรียกตรวจสอบสินค้าเพิ่มเติมหากจำเป็น 


  1. ชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียม

หลังจากศุลกากรประเมินภาษีแล้ว ผู้นำเข้าต้องชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางที่กำหนด  (หากสินค้ามีมูลค่าเกิน 1,500 บาท) ทั้งนี้ เมื่อชำระเงินแล้ว ควรเก็บใบเสร็จและเอกสารการชำระเงินไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้รับสินค้าด้วย


  1. รับสินค้า

ขั้นตอนสุดท้ายคือการรับสินค้า ซึ่งมีสองกรณี คือ หากใช้บริการกับบริษัทขนส่ง จะมีการจัดส่งสินค้าไปยังที่อยู่ปลายทางที่ระบุไว้ แต่หากดำเนินการด้วยตนเอง จะต้องไปรับสินค้าที่ด่านศุลกากรหรือคลังสินค้าที่กำหนด โดยต้องนำเอกสารการชำระเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปแสดงด้วย


วิธีการคำนวณภาษีอากรนำเข้าสินค้า


หลังจากที่เรารู้ขั้นตอนการส่งของกลับไทยแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจต่อไปคือการคำนวณภาษีนำเข้า เนื่องจากตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 กำหนดให้สินค้านำเข้าที่มีมูลค่า CIF เกิน 1,500 บาท หรือเป็นสินค้าควบคุม ต้องชำระภาษีนำเข้า โดยมีขั้นตอนการคำนวณดังนี้


  1. ขั้นที่ 1 : การคำนวณมูลค่า CIF 

มูลค่า CIF คือผลรวมของ


  • ราคาสินค้า (Cost) ตามที่ระบุใน Commercial Invoice

  • ค่าประกันภัย (Insurance) คิดเป็น 1% ของราคาสินค้า

  • ค่าขนส่งระหว่างประเทศ (Freight)


  1. ขั้นที่ 2 : การคำนวณภาษี 

เมื่อได้มูลค่า CIF แล้ว จึงคำนวณภาษีตามขั้นตอนต่อไปนี้


  • อากรขาเข้า = มูลค่า CIF × อัตราภาษีตามประเภทสินค้า

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (มูลค่า CIF + อากรขาเข้า) × 7%

  • ภาษีรวมทั้งหมด = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม


ตัวอย่างการคำนวณ : การนำเข้ากระเป๋า สมมติว่านำเข้ากระเป๋าซึ่งมีอัตราภาษี 20% โดยมีรายละเอียดดังนี้


  1. คำนวณมูลค่า CIF


  • ราคากระเป๋า = 10,000 บาท

  • ค่าประกัน = 500 บาท

  • ค่าขนส่ง = 1,500 บาท

  • มูลค่า CIF = 12,000 บาท


  1. คำนวณภาษี


  • อากรขาเข้า = 12,000 × 20% = 2,400 บาท

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (12,000 + 2,400) × 7% = 1,008 บาท

  • รวมภาษีที่ต้องชำระ = 2,400 + 1,008 = 3,408 บาท


ทั้งนี้ อัตราภาษีจะแตกต่างกันตามประเภทสินค้า ซึ่งตรวจสอบได้จากพิกัดอัตราศุลกากร (Harmonized System code) บนเว็บไซต์กรมศุลกากร


รวมครบ ! วิธีส่งของกลับไทยพร้อมตัวอย่างการคำนวณภาษีนำเข้า

วิธีชำระภาษีนำเข้า


เมื่อทราบจำนวนภาษีที่ต้องชำระแล้ว คุณสามารถเลือกช่องทางการชำระได้ 3 วิธี


  • ชำระที่กรมศุลกากร : หากสะดวกเดินทางมาด้วยตนเอง สามารถนำเอกสารที่จำเป็นทั้งหมดมาชำระที่หน่วยรับชำระของกรมศุลกากรได้โดยตรง โดยเจ้าหน้าที่จะช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารให้คุณ

  • การชำระผ่าน e-Payment : หากต้องการความสะดวกรวดเร็ว สามารถเลือกชำระผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที เพียงเชื่อมต่อบัญชีธนาคารเข้ากับระบบ จากนั้นระบบจะดำเนินการจัดการเอกสารใบขนสินค้าให้โดยอัตโนมัติ

  • การชำระผ่าน e-Bill Payment : สามารถใช้เอกสารมาตรฐานของกรมศุลกากรเพื่อชำระเงินผ่านช่องทางที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ติดตามและตรวจสอบการชำระเงินได้อย่างมั่นใจ


เจ้าของกำลังเปิดพัสดุที่พึ่งมาถึงหลังส่งของกลับไทย

มองหาบริการส่งของกลับไทย ขอแนะนำ Ezy Express ที่พร้อมให้บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์อย่างครบวงจร การันตีคุณภาพการขนส่งระดับมาตรฐาน ดูแลสินค้าทุกชิ้นด้วยทีมงานมืออาชีพ สามารถติดตามพัสดุได้ พร้อมส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างปลอดภัยทั่วโลกในราคามิตรภาพ ให้บริการโดยทีมงานที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 25 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 061-398-3300


สามารถเช็กราคาเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือหากต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามผ่านสายด่วน Ezy Express ได้ที่เบอร์ 061-398-3300 หรือ LINE Official @ezyexpress



EZY EXPRESS Team

พวกเราคือทีมจาก EZY EXPRESS ที่มีประสบการณ์ด้านการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศมากกว่า 30 ปี เราเชี่ยวชาญการให้บริการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ ขนส่งทางอากาศ และขนส่งทางบก ครอบคลุมทุกการขนส่งแบบครบวงจรด้วยมาตรฐานระดับสากล ซึ่งเราตั้งใจอยากจะแชร์ความรู้แก่ทุกคน เพื่อให้การส่งสินค้าไปต่างประเทศของทุกคนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น



ข้อมูลอ้างอิง

  1. ของต้องห้าม/ต้องกำกัด ในการนำเข้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.customs.go.th/cont_strc_simple.php?ini_content=individual_160426_01&lang=th&left_menu=menu_individual_submenu_03_01.

Comentários


bottom of page