ในยุคที่ทุกประเทศเชื่อมต่อถึงกันได้ง่าย ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศเติบโตมากขึ้นทุกวัน การทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเพื่อให้การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ซื้อและผู้ขายจึงจะต้องมี 'Incoterms' หรือเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าที่เข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน ซึ่งหากใครที่ยังไม่รู้จักว่าเงื่อนไข Incoterms ที่ว่านี้คืออะไร ในบทความนี้จะมาเล่าให้ฟัง ติดตามได้เลย!
ทำความรู้จัก Incoterms คืออะไร?
Incoterms (International Chamber of Commerce: ICC) คือเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ที่ถูกกำหนดเป็นมาตรฐานการค้าที่ใช้ตกลงในการทำสัญญาซื้อขายในระดับสากล ซึ่งได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce) เป็นประจำทุก 10 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย โดยฉบับล่าสุดคือ Incoterms® 2020
Incoterms มีกี่รูปแบบ?
Incoterms จะแบ่งออกเป็น 11 เงื่อนไข โดยสามารถแยกออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก คือ E, F, C และ D ซึ่งเงื่อนไขทั้ง 4 ประเภทนี้ จะช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าใจถึงจุดเปลี่ยนของความรับผิดชอบในการขนส่งสินค้า โดยผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงกันล่วงหน้าได้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งสินค้า ดังนี้
ประเภท E
EXW (Ex Works) คือการส่งมอบที่ผู้ขายจะรับผิดชอบสินค้าเฉพาะหน้างาน โดยจะทำหน้าที่เตรียมสินค้าให้พร้อมสำหรับการส่งมอบในสถานที่ที่กำหนด ซึ่งผู้ซื้อมีหน้าที่ในการขนส่งสินค้าไปยังปลายทาง ดำเนินการพิธีการนำเข้า และชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าเอง
ประเภท F
เงื่อนไขของประเภท F คือผู้ส่งออกสินค้า จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและสินค้าจนถึงท่าเรือส่งออกสินค้า หลังจากนั้น ผู้นำเข้าสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
FCA (Free Carrier) คือการส่งของที่ผู้ขายจะรับผิดชอบการส่งสินค้า ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งผู้ซื้อเป็นผู้กำหนด โดยผู้ซื้อมีหน้าที่ในการขนส่งสินค้าจากสถานที่ส่งมอบไปยังปลายทาง ดำเนินการพิธีการนำเข้า และชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้า
FAS (Free Alongside Ship) คือการส่งของที่ผู้ขายจะรับผิดชอบสินค้าจนถึงปากทางท่าเรือเท่านั้น หลังจากนั้นผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบส่วนค่าใช้จ่ายในการนำของขึ้นเรือ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า รวมถึงดำเนินการพิธีการนำเข้า และชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าเอง
FOB (Free On Board) คือการส่งของที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อสินค้าถูกขนขึ้นไปบนเรือ โดยจะเป็นผู้รับผิดชอบการทําพิธีการส่งออก แต่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือส่งออกไปยังปลายทาง การดำเนินพิธีการนำเข้า และความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าจะเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ
ประเภท C
CFR (Cost and Freight) คือการส่งของที่ผู้ขายต้องทำสัญญาขนส่งสินค้า ดำเนินพิธีการขาออก และรับผิดชอบด้านความเสี่ยงเมื่อสินค้าถึงเรือหรือเครื่องบิน โดยเมื่อสินค้าอยู่ระหว่างการเดินทางไปแล้ว จะกลายเป็นความรับผิดชอบของผู้ซื้อ
CIF (Cost, Insurance and Freight) คือการส่งของที่ผู้ขายจะรับผิดชอบในการส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง การทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางเรือ ไปจนถึงค่าประกันขนส่งเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างการส่งสินค้า โดยความรับผิดชอบจะหมดลงเมื่อสินค้าถึงท่าเรือ หรือสนามบินปลายทาง
CPT (Carriage Paid To) คือการส่งของที่ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจนสินค้าถูกส่งมอบไปสู่บริษัทขนส่ง ณ สถานที่ปลายทาง ซึ่งจะมีทั้งค่าขนส่ง ค่าประกันสินค้า รวมถึงค่าใช้จ่ายในความเสี่ยงจนถึงบริษัทขนส่ง หน้าที่ในการขนส่งหลังจากนั้นจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อ
CIP (Carriage and Insurance Paid to) คือการส่งของที่ผู้ขายจะทำการรับผิดชอบครอบคลุมค่าใช้จ่ายจนสินค้าถูกส่งมอบไปสู่บริษัทขนส่ง ณ สถานที่ปลายทาง โดยรวมถึงการให้ความคุ้มครองค่าประกันสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้ซื้ออีกด้วย
ประเภท D
เงื่อนไขกลุ่ม D คือ ผู้ส่งออกจะมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและสินค้า
DAP (Delivered at Place) เป็นเงื่อนไขใหม่ที่ถูกเข้ามาแทนที่ DAF (Delivered At Frontier), DES (Delivery Ex Ship), DEQ (Delivered Ex Quay) และ DDU (Delivered Duty Unpaid) โดยมีเห็นผลคือทางหอการค้านานาชาติเห็นว่าเงื่อนไขที่กล่าวมานี้มีความคล้ายคลึงกัน โดยการส่งของที่ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ยกเว้นค่าภาษีและพิธีการนำเข้า รวมถึงค่าประกันสินค้า
DPU (Delivered at Place Unloaded) เป็นเงื่อนไขที่ถูกใช้แทนที่ DAT (Delivered At Terminal) เนื่องจากต้องการปรับเปลี่ยนว่าสถานที่ปลายทางอาจเป็นสถานที่ใดก็ได้ ไม่ใช่แค่ที่เทอร์มินัลเท่านั้น ซึ่งผู้ขายจะให้ความรับผิดชอบในการขนส่งจนกว่าจะถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อจัดไว้ โดยผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบพิธีการขาเข้าเอง
DDP (Delivered Duty Paid) คือการส่งของที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจนกว่าจะจัดส่งสินค้าให้ถึงผู้ซื้อปลายทาง โดยจะต้องดูแลทั้งการทําพิธีการส่งออกและพิธีการขาเข้า จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า ไปจนถึงภาษีนำเข้าอีกด้วย
หลังจากอ่านบทความนี้จบ หลายคนคงรู้สึกว่าการส่งของเป็นเรื่องยุ่งยากและวุ่นวายเพราะมีหลายขั้นตอนที่ต้องจัดเตรียม แต่การส่งของจะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป หากมีผู้ช่วยในการส่งของทางเครื่องบินไปต่างประเทศที่จะดูแลคุณอย่างครบวงจร กับ Ezy Express บริษัทขนส่งต่างประเทศที่ให้บริการส่งพัสดุ การันตีได้ถึงเรื่องคุณภาพการขนส่งในระดับมาตรฐาน ดูแลสินค้าทุกชิ้นด้วยทีมงานมืออาชีพให้พัสดุถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย สามารถเช็กราคาค่าส่งเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือหากต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามผ่านสายด่วน Ezy Express ได้ที่เบอร์ 061-398-3300 หรือ LINE Official @ezyexpress
แหล่งอ้างอิง
Incoterms ทั้ง 11 ประเภท ที่นักธุรกิจระหว่างประเทศควรทำความเข้าใจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 จาก https://beecy.co/blog/knowledge-2/incoterms-39
Incoterms® 2020 Explained – The Complete Guide. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 จาก https://incodocs.com/blog/incoterms-2020-explained-the-complete-guide/
The difference between INCOTERMS DDP, DDU, and DAP explained!. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 จาก http://forwarder-university.com/ddu-ddp/
Comentarios